วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สิ่งได้รับจากการไปทัศนศึกษา

1.มหาวิทยาลัยธรรมชาติ

สิ่งที่ได้รับ
--กระบวนการการผสมผสานระหว่าง"กระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้าน"กับ"กระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
เช่น 1.การนำปลาดุกมาเลี้ยงในที่ที่จำกัด แล้วหาจำนวนปลาดุกที่ดีที่สุดที่ทำให้ปลาไม่ป่วยและมีการเจริญเติบโตดี
2.วิธีการทำให้ปลาดุกกินผัก เช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง โดยการลดอาหารลง ทำให้ปลาต้องกินผักที่ใส่ไว้ เพื่อความอยู่รอด
3.การเลี้ยงกบคอนโด และวิธีการเพาะพันธุ์กบ
4.การย้อมสีกบ โดยการใส่กบลงไปในน้ำฟางข้าว
5.การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากพืชเพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ โดยการใส่ลงไปในน้ำที่เลี้ยงปลาดุก ทำให้ปลาดุกไม่ป่วยและน้ำไม่เน่าเสียง่าย
6.การแปรรูปข้าวแข็งที่ปลูกกันในพื่นที่อำเภอปากพนัง มาเป็น"เส้นขนมจีน"
7.การผลิตน้ำยาล้างจาน ยาสระผม สบู่ เป็นต้น



คุณลุงขจร ทิพาพงศ์ วิทยากรมหาวิทยาลัยธรรมชาติ



กบและปลาดุก ที่เลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติ


2.บ้าน คุณ"หมอดิน"

(คุณลุงอนันต์ สุวรรณโน)
สิ่งที่ได้รับ
1.การบังคับให้ไม้ดอกและไม้ผล ออกดอกออกผล ทุกๆปี
2.การตรวจสอบคุณภาพดิน
3.การเพิ่มสารอาหารในดินอย่างเหมาะสม โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และ ปุ๋ยคอก ควบคู่กัน



คุณลุงอนันต์ สุวรรณโน หมอดินของชาวบ้าน ผู้ช่วยให้ดินของชาวบ้านอุดมสมบูรณ์





3.ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

(คุณน้า พรประสิทธิ์ ไม้เรียง)
สิ่งที่ได้รับ
----การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นกล้วยไม้พันธุ์หายากต่างๆ โดยใช้สปอร์ ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารสังเคราะห์ทั้งแบบเหลวและแบบแข็ง ในการทำนั้น ต้องควบคุมให้อยู่ในสภาพปลอดเชื้อ เพราะอาจจะทำให้ต้นกล้วยไม้หยุดการเจริญเติบโตได้



พี่พรประสิทธิ์ ไม้เรียง วิทยากรการเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้



เมล็ดของกล้วยไม้ที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



โรงเลี้ยงกล้วยไม้หลังทำการเลี้ยงในขวดครบ 1 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น